คุณสมบัติข้าราชการที่ดี

คำถามที่มักถาม ในการสอบภาค ค

การเตรียมตัวสอบภาค ค. ท้องถิ่น (อบต อบจ เทศบาล) คำแนะนำในการสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สัมภาษณ์) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มักถามคำถาม ความรู้ที่อาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ จริยธรรมและคุณธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม 



ตัวอย่า่งคำถามที่มักถามเสมอ เช่น 

- ทำไมถึงอยากรับราชการ?

- ทำไมถึงอยากรับราชการในกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

- คุณคาดหวังอย่างไรกับอาชีพรับราชการ

- หากคุณจบระดับปริญญาตรี แต่สมัครในระดับต่ำกว่า กรรมการจะถามว่า "คุณจบปริญญาตรีทำไมมาสอบในตำแหน่งวุฒิ ปวส." , "เงินเดือนวุฒิ ปวส. น้อยกว่าปริญญาตรี รับได้ไหม"

- หากคุณทำงานมีอาชีพอยู่แล้ว กรรมการมักจะถามว่า "อาชีพที่ทำก็ดีอยู่แล้วทำไมถึงอยากมาทำงานนี้" , "ถ้าหากคุณสอบได้คุณก็ต้องลาออกจากที่ทำงานเดิม คุณไม่ห่วงหน่วยงานเดิมเหรอที่ต้องขาดบุคลากรไป คุณไม่สงสารเพื่อนร่วมงานเหรอที่ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มขึ้น"

- หากคุณเพิ่งเรียนจบ หรือยังไม่ได้ทำงาน กรรมการอาจถามว่า "คุณยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน คุณจะมีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างไร"

- กรรมการจะถามเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่สมัครสอบ เช่น คุณทราบหรือไม่ว่าตำแหน่งนักพัฒนาชุมชน ทำอะไรบ้าง มีหน้าที่อย่างไร? (ปรับใช้กับตำแหน่งที่คุณสมัครสอบ)

- จงบอกข้อดีและข้อเสียของคุณ

- ถ้าคุณได้บรรจุฯคุณจะทำอะไรเป็นสิ่งแรก (อาจเกี่ยวกับงานในหน้าที่ หรือถามเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว)

- หากคุณได้บรรจุฯเข้าไปทำงานแล้วเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน คุณจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร?

- การจะเป็นข้าราชการที่ดีต้องปฏิบัติตนอย่างไร

- หากได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้ทำในสิ่งที่ผิดระเบียบฯ คุณจะทำอย่างไร

- อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ชื่ออะไร

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชื่ออะไร

- คำขวัญประจำจังหวัดภูมิลำเนา

- หลักธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

- ถามความรู้เกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่สมัครสอบ

NOTE

กพ. ภาค ก ภาค ข. ภาค ค. คืออะไร แตกต่างกันยังไง

การสอบแข่งขันเป็นข้าราชการหรือบุคลากรของรัฐบางประเภท จะมีการสอบอยู่ 3 ขั้นตอน คือ


1. การสอบความรู้ความสามารถทั่วไป หรือที่เรียกกันว่าสอบ ภาด ก.
การสอบวัดความสามารถทั่วไป จะมีเนื้อหาที่ใช้สอบ เช่น คณิต อนุกรม ตรรกะ อนุมาน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ทั้งนี้ข้าราชการก็มีหลายประเภท เช่น ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ฯลฯ



ขรก.พลเรือนสามัญ และ ขรก. บางประเภท จะใช้ผลการสอบภาค ก. ของ ก.พ. (หรือที่เรียกว่าสอบ ก.พ.)
         

ขรก.ครูฯ, ขรก.กทม., พนักงานรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ จะมีการสอบภาค ก. ของตนเอง ซึ่งอาจมีเนื้อหาข้อสอบเพิ่มเติมจากของ ก.พ. เช่น พ.ร.บ., ระเบียบ, ฯลฯ ขององค์กรนั้นๆ หรือความรู้เฉพาะอื่นๆ


2. การสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง หรือ การสอบ ภาค ข.


คือ การสอบความรู้เฉพาะตำแหน่งนั้นๆ เช่น ตำแหน่งนักวิชาการเกษตร ก็ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรตำแหน่งนิติกร ก็สอบความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เป็นต้น อาจจะมีการสอบปฏิบัติ หรือ ทดสอบร่างกาย ก็ได้
         


สำหรับข้าราชการ, บุคลากรของรัฐบางระเภท จะบังคับต้องผ่านภาค ก. มาก่อนจึงจะมีสิทธิสมัครสอบภาค ข. หรือบางหน่วยงานอาจจะจัดสอบพร้อมกันทั้ง ก. และ ข. ก็ได้
     

3. การสอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือ การสอบภาค ค. คือ การสอบสัมภาษณ์ ต้องสอบผ่าน ภาค ก. และ ข. หรือตามเงื่อนไขกำหนด มาก่อน จึงจะมีสิทธิสอบภาค ค.

ความคิดเห็น