คุณสมบัติข้าราชการที่ดี

ขั้นตอนการเข้ารับราชการ

งานราชการ คือ เอกชน ดีกว่ากัน

คงบอกไม่ได้นะครับว่า แบบไหนดีกว่า ในจุดเริ่มต้น เรามักเห็นข้อดีของงานที่เราตั้งใจที่จะเลือกให้เป็นการงานอาชีพของเรา แต่ในระหว่างทาง เราอาจรู้สึกถึงความแตกต่าง การเปรียบเทียบ ข้อคิดที่อยากฝากไว้คือ งานไหน ก็มีความสำคัญ เป็นงานที่มีคุณค่า สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้ 

อย่างน้อย งานที่เราทำควรตอบโจทย์ ความต้องการพื้นฐานของครอบครัวเราได้เสียก่อนนะครับ และที่สำคัญ เราเลือกแล้ว อย่าได้บ่นว่า ก็ทำงานราชการ เงินเดือนน้อย ไม่เหมือนคนที่ทำเอกชน อย่าลืมว่าคุณเลือกงานราชการเพราะอะไร สวัสดิการ ความถนัด หรือ เงิน

เช่นกันครับ คนที่เลือกงานเอกชน ก็มักบ่นว่า ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีความมั่นคง เหมือนกับงานราชการ อยากถามว่า จะบ่นทำไม ในเมื่อทุกๆการเลือก เราเลือกเอง คุณเลือกเอง ผมเลือกเอง เราเลือกสาขาที่เรียน เราเลือกงานที่จะทำ อย่าโทษใคร ถ้าเราไม่สำเร็จ ไม่สมหวังในสิ่งที่เราเลือก

ถ้าคุณเลือกที่จะทำงานราชการ นี่คือข้อมูลที่คุณควรทราบครับ

อาชีพ “ข้าราชการ” เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก เพราะระบบราชการเป็นตัวจักรที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้บังเกิดผลสำเร็จ นำพาประเทศชาติและสังคมไปสู่ความเจริญและสงบสุข สามารถยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างสง่าผ่าเผย

หลักการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ

ดำเนินการโดยยึดหลักดังนี้
  • ความเป็นธรรมและเสมอภาคในโอกาสแก่บุคคลผู้มีคุณสมบัติอย่างเท่าเทียมกัน
  • ความได้มาตรฐานด้านเทคนิคและวิธีการดำเนินการเพื่อให้ได้บุคคลที่เป็นคนดีมีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะเหมาะสมกับตำแหน่ง
  • ความสะดวก รวดเร็ว และประหยัด
  • บุคคลมีโอกาสเลือกงาน และ หน่วยงานมีโอกาสเลือกบุคคล

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับราชการ

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนนอกจากจะมีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 แล้ว ยังจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

วิธีการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ

การสรรหาบุคคลเข้ารับราชการเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในตำแหน่งระดับบรรจุนั้น อาจดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
  • การสอบแข่งขัน ซึ่งอาจรับสมัครจากบุคคลทั่วไปหรือรับสมัครเฉพาะผู้ผ่านการกลั่นกรองเบื้องต้นแล้ว
  • การคัดเลือก ดำเนินการในกรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการสอบแข่งขัน เช่น กรณีคุณวุฒิที่หาผู้สำเร็จการศึกษาได้ยาก หรือได้รับทุนรัฐบาล เป็นต้น

หน่วยงานดำเนินการ

สำนักงาน ก.พ. : เป็นผู้ดำเนินการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)
ส่วนราชการ : เป็นผู้ดำเนินการสรรหาและเลือกสรรผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชา และระดับ ที่ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และเป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ของ ก.พ. ในระดับนั้น ๆ แล้ว ส่วนผู้ได้รับปริญญาเอก และมีวุฒิการศึกษา ที่ ก.พ. กำหนดเป็นวุฒิคัดเลือก ส่วนราชการจะเป็นผู้คัดเลือกเพื่อบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ โดยส่วนราชการจะเปิดรับสมัครจากผู้มีวุฒิดังกล่าว



สมัครแล้วอย่าลืมเช็คเมลยืนยันด้วยนะครับ

ความคิดเห็น